ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมด่วน อาจารย์จึงหมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ทำกัน คือใบงานเรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปเรื่องนี้ลงในกระดาษ A4 และนำมาส่งในจันทร์ เนื้อหานี่เป็นแนนวข้อสอบและครั้งนี้คือการเรียนครั้งสุดท้ายของเทอม
รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สมมุติว่าเด็กกำลังสนใจตัวหนอนแล้วเด็กเดินมาบอกครู ครูไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่
2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น
3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้ ครูจะต้องคอบแนะนำผู้ปกครองด้วย
4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ครูควรทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามารถ และหัดให้เด็กรู้จักวิธีหาคำตอบด้วยตนเอง
บทบาทของครูอนุบาลในฐานะครูวิทยาศาสตร์
1. หาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี
2. จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน (จัดมุมหรือศูนย์วิทยาศาสตร์)
4. ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจ
5. ควรมีการส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก
6. สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหา
7. การสรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ
การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะเตรียมอะไรบ้าง
1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก
2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์
3. วางแผนจัดประสบการณ์
4. เลือกวัสดุอุปกรณ์
5. การสอน
6. การประเมิน
ตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์
1. อากาศ การทำฟองสบุ่
2. ความคิดรวบยอด อากาศต้องการที่อยู่ ลูกโป่งฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างใน
3. วัตถุประสงค์ เด็กทำลูกโป่งฟองสบู่จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้
4. อุปกรณ์ สบู่เหลวหรือน้ำยาซักผ้า 8 ช้อนโต้ะ น้ำ 1 ควอท หลอดดูด ถ้วยและสีผสมอาหาร
การใช้คำถามของครู
1. เด็กเป่าลูกโป่งฟองสบู่ได้กี่ลูก
2. ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร
3. เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่งฟองสบู่
4. ลูกโป่งฟองสบู่แตกหรือไม่
5. เด็กๆบอกได้ไหมเด็กๆเป่าอะไรลงไปในฟองสบู่
ประสบการณ์เสริม
1. ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เป่า แล้วเขียนลงกระดาษขนาดใหญ่
2. ส่งเสริมให้เด็กทำหนังสือเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่โดยการวาดภาพ
3. ส่งเสริมให้เด็กเขียนเกี่ยวกับภาพวาดของตนเอง
4. จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่แล้วให้เด็กเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมความคิดรวบยอด
5. ทำลูกโป่งให้มีรูปร่างแตกต่างกัน
ควรสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร
1. เวลาสอนครูเป็นผู้แนะนำ อำนวยความสะดวก
2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากไป
3. ทำให้การเรียนการสอนสนุก
4. ให้ยืดหยุ่นได้
5. อย่ายัดเยียดความรู้กับเด็ก
6. จัดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ
7. ส่งเสริมให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส
8. ให้เด็กอยากรู้อยากเห็น
สิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์
ให้ลองจับ ให้ถาม ให้ตรวจตา สัมผัส ครูรู้จักเอาคำถามของเด็กมาใช้ถามเด็กอีกทีให้เด็กคิดให้เด็กสังเกตมากขึ้น ให้เด็กมีโอกาศทดลองความคิดของเขา
ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
1. สอนเรื่องการสังเกตเรื่องการเปรียบเทียบ
2. สอนเรื่องรูปทรง
3. สอนเรื่องพื้นที่ (space)
4. สอนเรื่องเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมด อัตราส่วน
5. สอนเรื่องเรียงตามลำดับ
6. สอนเรื่องการวัด น้ำหนัก-ส่วนสูง
7. สอนให้ดูภาพแผนภูมิสถิติ
8. สอนเรื่องเครื่องหมาย ตัวเลข
ครูมีวิธีประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร
1. การสังเกตของครู
2. ซักถามเด็ก อย่าให้เหมือนการสอบสวนเด็กจะรู้สึกเครียดซึ่งเป็นการสัดผลที่ไม่ดีควรไปในลักษณะการพูดคุยกับเด็กมากกว่า
3. จากการวัดผลของตัวเด็กเอง เด็กอาจสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของเขาเอง
รูปภาพมายแมพ
คำศัพท์
1. technique เทคนิค
2. science วิทยาศตร์
3. Additional experience ประสบการณ์เสริม
4. attitude เจตคติ
5. the character บทบาท