Sunday, September 22, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 💦


วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
              การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์ของแต่ละกลุ่มมาทำการทดลองที่กลุ่มตนเอวได้เลือกมา 1 เรื่อง นำมาทดลองในห้องเรียน โดยที่แต่ละกลุ่มออกมาทดลองหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนดู แต่ก่อนจะทดลองอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์จากการทดลอง หลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาทดลองให้เพื่อนๆดู
             กลุ่มของดิฉันเป็นกลุ่มที่ 4 เป็นการทดลองแยกเกลือและพริกไทย เป็นการทดลองที่ช้อนจะดึงดูดด้านบวกของเกลือและพริกไทยขึ้นมาติดกับช้อน มีสถานะภาพทางไฟฟ้าเป็นลบ เรียกว่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้า หลังจากที่พริกไทยเกาะติดกับช้อนจะรับอิเล็กตรอนส่วนเกินมาจากช้อน ทำให้พริกไทยเป็นประจุลบ พริกไทยเริ่มผลักกันเอง และจะกระเด็นไปทุกทิศทาง


กลุ่มที่ 1 การทดลองลูกโปร่งพองโต




กลุ่มที่ 2  การทดลองภูเขาไฟลาวา




กลุ่มที่ 3  การทดลองมาสนุกกับฟองสบู่กันเถอะ




กลุ่มที่ 4  การทดลองการแยกเกลือและพริกไทย




กลุ่มที่ 5 การทดลองลูกข่างหลากสี




กลุ่มที่ 6  การทดลองภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว





                  หลังจากการทดลองแต่ละกลุ่มเสร็จลง อาจารย์ก็ได้แนะนำสิ่งที่นักศึกษายังทำได้ไม่ดี บอกเพิ่มเติมเพื่อการทดลองกับเด็กแต่ละครั้งออกมาดี เพื่อที่หลังจากนี้จะให้นักศึกษาได้นำไปทดลองกับเด็กต่อไป







รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน






คำศัพท์
1. equipment                  อุปกรณ์
2. Salt                       เกลือ
3. pepper                     พริกไทย
4. balloon                    ลูกโปร่ง
5. bubble                     ฟองสบู่




บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน กิจกรรมสนุกไม่น่าเบื่อ ได้ทดลองและ                                            เห็นการทดลองต่างๆที่เราไม่เคยเห็น






Saturday, September 14, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 💦


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                   การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงสเปสกับเวลา อธิบายว่าวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวียมีอะไรบ้าง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 





รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน


ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

             สเปส หรือ มิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้

            การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น

ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้

             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืน อยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใด ไว้ เป็นต้น
            ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อน ที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills)

            ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะทางสติปัญญาที่ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาต่างๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

          1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป
          2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
          3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวก
หรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์ ซึ่งอาจเป็นความเหมือนความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
          4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลองโดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป
          5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
          6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) หมายถึง การนับจำนวน
ของวัตถุ และการนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
          7.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
          8. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Dataand Communicating) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ และนำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมาย

          นอกจากนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มของนักศึกษาที่เคยจับกันไว้ ให้กระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มวาดภาพโดยห้ามมีตัวหนังสือ วาดรูประบายสีให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมายืนหน้าชั้น และให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆทายว่า ภาพที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มวาดขึ้นมาคือภาพอะไร โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์และใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยเห็น หรือเคยไปที่เหล่านั้นให้คิดว่าเป็นที่ไหน



รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน


รูปภาพนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "เขื่อนเชี่ยวหลาน"


กลุ่มที่ 2


กลุ่มดิฉันได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "ทะเลแหวก"


กลุ่มที่ 3


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "น้ำตกเจ็ดสาวน้อย"


กลุ่มที่ 4


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "เขื่อนลำตาคลอง"


กลุ่มที่ 5


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "สะพานข้ามไทยลาว"


กลุ่มที่ 6


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "แม่น้ำเจ้าพระยา"


                หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษหนังสือพิมให้นักศึกษากลุ่มละ 20 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบแท้งค์น้ำให้ความสูงได้ 24 นิ้ว ให้มีลากฐานที่มั่นคงสามารถวางพานได้ในเวลา 10 วินาที เพื่อให้นักศึกษาได้คิดวางแผนและช่วยกันคิดช่วนกันออกแบบ







รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน





คำศัพท์
1. Newspaper                  หนังสือพพิมพ์
2. draw                       วาดรูป
3. present                    นำเสนอ
4. Specification              สเปส
5. The skills                 ทักษะ



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน กิจกรรมสนุกไม่น่าเบื่อ











Sunday, September 8, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 💦


วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                   การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้กล่าวถึงการทำสื่อ ศิลปะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง พูดเกี่ยวกับบล็อกว่าบล็อกควรมีอะไรเป็นองคืประกอบบ้าง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเด็กคืออะไรเกี่ยวกับเรื่องอะไร สาระวิทยาศาสตร์มีกี่กลุ่ม การอำนวยความสะดวกของการเรียนการสอน การเตรียมการสอนของครูควรทำอย่างไรบ้าง นอกจากนี้อาจารย์ยังได้พูดถึงทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง 

วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

                 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช เป็นต้น

สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน

               การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว

                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้

                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

           การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้

                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้

                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)

                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน

                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้

                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้

                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ

                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน

                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

 เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

          เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือ  (Brewer,  1995  :  290)

                1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี

                2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

                3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ

                4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก

                การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนเพื่อสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ  ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ  และศึกษาสิ่งต่าง ๆ  ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้  และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2545  :  20 - 26)  ในขณะเดียวกัน  กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่เด็กได้สัมผัสด้วย

 สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน

          ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสาระวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้

                1.  สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช

               2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์

               3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น

               4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง

               5.  สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ได้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา

               6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล

                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร  เรียกว่า  ธรรมชาติรอบตัว  โดยกำหนดให้เด็กเรียน  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ






รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน






คำศัพท์
1. Scientific skills          ทักษะทางวิทยาศาสตร์
2. Science                    สาระทางวิทยาศาสตร์
3. observation                การสังเกต
4. comparison                 การเปรียบเทียบ
5. test                       การทดลอง



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน