Saturday, September 14, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 💦


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                   การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดถึงสเปสกับเวลา อธิบายว่าวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวียมีอะไรบ้าง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 





รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน


ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา

             สเปส หรือ มิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้

            การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ  2 มิติ  3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น

ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้

             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืน อยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใด ไว้ เป็นต้น
            ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อน ที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills)

            ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะทางสติปัญญาที่ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาต่างๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

          1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป
          2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
          3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวก
หรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์ ซึ่งอาจเป็นความเหมือนความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
          4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลองโดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป
          5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
          6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) หมายถึง การนับจำนวน
ของวัตถุ และการนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
          7.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
          8. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Dataand Communicating) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ และนำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมาย

          นอกจากนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มของนักศึกษาที่เคยจับกันไว้ ให้กระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มวาดภาพโดยห้ามมีตัวหนังสือ วาดรูประบายสีให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมายืนหน้าชั้น และให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆทายว่า ภาพที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มวาดขึ้นมาคือภาพอะไร โดยให้นักศึกษาวิเคราะห์และใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยเห็น หรือเคยไปที่เหล่านั้นให้คิดว่าเป็นที่ไหน



รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน


รูปภาพนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "เขื่อนเชี่ยวหลาน"


กลุ่มที่ 2


กลุ่มดิฉันได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "ทะเลแหวก"


กลุ่มที่ 3


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "น้ำตกเจ็ดสาวน้อย"


กลุ่มที่ 4


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "เขื่อนลำตาคลอง"


กลุ่มที่ 5


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "สะพานข้ามไทยลาว"


กลุ่มที่ 6


เพื่อนได้วาดรูปนำเสนอครั้งนี้เป็นรูป "แม่น้ำเจ้าพระยา"


                หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษหนังสือพิมให้นักศึกษากลุ่มละ 20 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบแท้งค์น้ำให้ความสูงได้ 24 นิ้ว ให้มีลากฐานที่มั่นคงสามารถวางพานได้ในเวลา 10 วินาที เพื่อให้นักศึกษาได้คิดวางแผนและช่วยกันคิดช่วนกันออกแบบ







รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน





คำศัพท์
1. Newspaper                  หนังสือพพิมพ์
2. draw                       วาดรูป
3. present                    นำเสนอ
4. Specification              สเปส
5. The skills                 ทักษะ



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน กิจกรรมสนุกไม่น่าเบื่อ











No comments:

Post a Comment