Sunday, December 8, 2019


คลิปวีดีโอการสอนมดลองวิทยาศาสตร์
การแยกเกลือและพริกไทย
















บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 💦


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 
ความรู้ที่ได้รับ
               วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมด่วน อาจารย์จึงหมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ทำกัน คือใบงานเรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์  อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปเรื่องนี้ลงในกระดาษ A4 และนำมาส่งในจันทร์ เนื้อหานี่เป็นแนนวข้อสอบและครั้งนี้คือการเรียนครั้งสุดท้ายของเทอม



รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน



เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์     

การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
                1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สมมุติว่าเด็กกำลังสนใจตัวหนอนแล้วเด็กเดินมาบอกครู ครูไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่
                2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น
                3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้ ครูจะต้องคอบแนะนำผู้ปกครองด้วย
                4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ
                5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ครูควรทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามารถ และหัดให้เด็กรู้จักวิธีหาคำตอบด้วยตนเอง
           
บทบาทของครูอนุบาลในฐานะครูวิทยาศาสตร์
                1. หาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี
                2. จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
                3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน (จัดมุมหรือศูนย์วิทยาศาสตร์)
                4. ควรมีการแนะนำวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจ
                5. ควรมีการส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก
                6. สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหา
                7. การสรุปความโดยยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ
           
การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะเตรียมอะไรบ้าง
                1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก
                2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์
                3. วางแผนจัดประสบการณ์
                4. เลือกวัสดุอุปกรณ์
                5. การสอน
                6. การประเมิน
ตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์
               1. อากาศ การทำฟองสบุ่
               2. ความคิดรวบยอด อากาศต้องการที่อยู่ ลูกโป่งฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างใน
               3. วัตถุประสงค์ เด็กทำลูกโป่งฟองสบู่จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้
               4. อุปกรณ์ สบู่เหลวหรือน้ำยาซักผ้า 8 ช้อนโต้ะ น้ำ 1 ควอท หลอดดูด ถ้วยและสีผสมอาหาร
              
การใช้คำถามของครู 
               1. เด็กเป่าลูกโป่งฟองสบู่ได้กี่ลูก
               2. ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร
               3. เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่งฟองสบู่
               4. ลูกโป่งฟองสบู่แตกหรือไม่
               5. เด็กๆบอกได้ไหมเด็กๆเป่าอะไรลงไปในฟองสบู่

ประสบการณ์เสริม
               1. ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เป่า แล้วเขียนลงกระดาษขนาดใหญ่
               2. ส่งเสริมให้เด็กทำหนังสือเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่โดยการวาดภาพ
               3. ส่งเสริมให้เด็กเขียนเกี่ยวกับภาพวาดของตนเอง
               4. จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่แล้วให้เด็กเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมความคิดรวบยอด
               5. ทำลูกโป่งให้มีรูปร่างแตกต่างกัน

ควรสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร
               1. เวลาสอนครูเป็นผู้แนะนำ อำนวยความสะดวก
               2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากไป
               3. ทำให้การเรียนการสอนสนุก
               4. ให้ยืดหยุ่นได้
               5. อย่ายัดเยียดความรู้กับเด็ก
               6. จัดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ
               7. ส่งเสริมให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส
               8. ให้เด็กอยากรู้อยากเห็น

สิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์
               ให้ลองจับ ให้ถาม ให้ตรวจตา สัมผัส ครูรู้จักเอาคำถามของเด็กมาใช้ถามเด็กอีกทีให้เด็กคิดให้เด็กสังเกตมากขึ้น ให้เด็กมีโอกาศทดลองความคิดของเขา 

ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
               1. สอนเรื่องการสังเกตเรื่องการเปรียบเทียบ
               2. สอนเรื่องรูปทรง
               3. สอนเรื่องพื้นที่ (space)
               4. สอนเรื่องเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมด อัตราส่วน
               5. สอนเรื่องเรียงตามลำดับ
               6. สอนเรื่องการวัด น้ำหนัก-ส่วนสูง
               7. สอนให้ดูภาพแผนภูมิสถิติ
               8. สอนเรื่องเครื่องหมาย ตัวเลข

ครูมีวิธีประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร
               1. การสังเกตของครู
               2. ซักถามเด็ก อย่าให้เหมือนการสอบสวนเด็กจะรู้สึกเครียดซึ่งเป็นการสัดผลที่ไม่ดีควรไปในลักษณะการพูดคุยกับเด็กมากกว่า
               3. จากการวัดผลของตัวเด็กเอง เด็กอาจสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของเขาเอง



รูปภาพมายแมพ






 คำศัพท์
1. technique                  เทคนิค
2. science                    วิทยาศตร์
3. Additional experience      ประสบการณ์เสริม
4. attitude                   เจตคติ
5. the character              บทบาท






บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 💦


วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 
ความรู้ที่ได้รับ
                   การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อการศึกษาที่ได้มอบหมายให้นักศึกษาทำมา มีต้องแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม สื่อเดี๋ยวของดิฉัน คือ กล้องสลับลาย เรียนรู้เรื่องหลักการสะท้อนแสง กล้องนี้เกิดขึ้นจากการสะท้อนของแสงภายในกล้อง โดยสะท้องจากปกใสแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง ทำให้เกิดเงาสะท้องกลับไปกลับมา ภาพและสีที่เห็นจึงมีลักษณะซ้อนกันไปมา และเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ กล้องนี้เสริมจินตนาการ วิทยาศาสตร์ไปสู่ศิลปะ เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์และเด็กสามารถทำได้ง่าย และสื่อกลุ่มดิฉัน คือ โรงละครหุ่นเงา

แบบกลุ่ม



1. บ่อตกปลา  (เครื่องกล)




2. โรงละครหุ่นเงา  (แสง)



3. กังหันน้ำ  (น้ำ)



4. ปืนอักอากาศ  (อากาศ)


5. เครื่องกรองน้ำ  (ดินทราย)


6. กีต้าร์  (เสียง)



แบบเดี่ยว
เครื่องกล


1. คานดีด               ( อ้อม )
2. รถไขลาน            ( เตย )
3. เขาวงกต            ( เอิร์น )
4. เครื่องบินร่อน      ( แนน )
5. เรือใบพัด            ( ออม )



แสง


1. นาฬิกาแสนรู้             ( เป้ )
2. กล้องรูเข็ม                ( นุช)
3. กล้องสลับลาย         (ครีม )
4. กระดาษเปลี่ยนสี    ( แนน )
5. กล้องละลานตา        ( รัก )


น้ำ


1. พายุทอร์นาโด    ( โนอาร์ )
2. นักดำน้ำ                 ( กิ๊ฟ )
3. ทะเลในขวด           ( เมย์ )
4. ตู้กดน้ำจำลอง          ( จีน )


อากาศ


1. โฮเวอร์คราฟลูกโป่ง     ( แพม )
2. ตุ๊กตาลมคืนชีพ             ( เตย )
3. รถพลังลม                     ( ป่าน )
4. เครื่องดูดจอมกวน        ( เบนซ์)


ดินทราย


1. ถาดหลุมหิน                             ( หญิง )
2. บิงโก                                        ( ป๊อป )
3. เครื่องเขย่าเสียง                     ( รีเจนซี่)
4. นาฬิกาทราย                           ( กวาง )
5. เครื่องเคาะจังหวะจากทราย    ( แพรว )


เสียง


1. แตช้าง                  ( ป๊อปอาย )
2. ผลไม้หลากสี                ( ดาว )
3. เครื่องเคาะจังหวะ       ( เจนนี่ )
4. เครื่องดนตรี             ( อิงดาว )


                  หลังจากที่นำเสนอแต่ละกลุ่ม / เดี่ยว เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็จะมีคำแนะนำและข้อเสนอต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลองเปลี่ยนหรือทำใหม่ การเปลี่ยนคำพูดใหม่ๆในการนำเสนอเพื่อให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น หรือแนะนำและบอกเกี่ยวกับหลักการวิทยาศาสตร์ในสื่อนั้นๆ และเป็นอันจบการเรียนการสอนในคาบนี้

เบื้องหลังการทำสื่อกลุ่ม




บรรยากาศภายในห้องเรียน






คำศัพท์
1. Mechanical                 เครื่องกล
2. light                      แสง
3. water                      น้ำ
4. Air                        อากาศ
5. Sandy soil                 ดินทราย
6. voice                      เสียง



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน การนำเสนอสนุกไม่น่าเบื่อ ได้เห็นสื่อ                                              สำหรับเด็กในเรื่องต่างๆเพิ่มขึ้น ปละเป้นการเรียนที่สบายไม่เครียด






บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 💦


วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562  
ความรู้ที่ได้รับ
                   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ต้องย้ายของจากตึกคณะเก่ามาตึกคณะใหม่ ทำให้ไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ และอาจารย์นัดคุยเกี่ยวกับงานที่ค้างคาแล้วยังต้องส่งภายในอาทิตย์หน้า เป็นสื่อการสอนกลุ่มและเดี่ยว 









บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 💦


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 
ความรู้ที่ได้รับ
                    การเรียนการสอนวันนี้เป็นลักษณะเช่นเดียวกับอาทิตที่แล้ว คือการออกนอกพื้นที่ลงพื้นที่จริงเพื่อจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ซอยเสือใหญ่ โดยให้นักศึกษา 3 กลุ่มที่ยังไม่ได้จัดกิจกรรมเป็นคนจัดกิจกรรมในอาทิตย์นี้ โดยให้นักศึกษาที่จัดกิจกรรมในอาทิตย์ที่แล้ว เปลี่ยนมาเป็นคนช่วยเพื่อนดูแลเด็กๆแทนในสัปดาห์นี้





รูปภาพกิจกรรม

                        ก่อนจะเริ่มกิจกรรมอาจารย์ให้นักศึกษาพูดคุยกับเด็กๆ ทำความรู้จักกับเด็กๆชวนเด็กทำกิจกรรมร้องเพลง ก่อนเริ่มทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์
                        การทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในวันนี้เป็นเช่นกันกับอาทิตย์ที่แล้ว คือแบ่งเป็นฐาน และแบ่งเด็กๆเป็น 3 กลุ่ม และให้กลุ่มที่ดูแลเด็กได้พาเด็กเดินวนทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละฐาน














รูปภาพกิจกรรม


                          หลังจากจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเล่านิทานให้เด็กๆฟังก่อนกลับอีกด้วย นิทานที่นำมาเล่าให้เด็กๆฟังคือเรื่อง ลูกวัวขี้เกียจ
                          จากนั้นเป็นอันจบกิจกรรมต่างๆ ฟลังจากจบกิจกรรมอาจารย์ได้เรียกนักศึกษาพบ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ได้พูดคุยถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในระหว่างการทำกิจกรรม ได้บอกวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ชี้แนะ แนะนำวิธีการแก้ปัญหาต่างๆให้นักศึกษาได้เข้าใจและเรียนรู้เพื่อให้ได้คิดแล้วนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป



คำศัพท์
1. volcano                    ภูเขาไฟ
2. Reflect                    สะท้อนแสง
3. Instruction media          สื่อการสอน
4. Trial                      ทดลอง
5. care                       ดูแล



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากขึ้น                                            ที่นั่งสามรถมองเห็นอาจารย์สอนได้ชัดเจน กิจกรรมสนุกไม่น่าเบื่อ ได้ทดลองและ                                            เห็นการทดลองต่างๆที่เราไม่เคยเห็น ได้คิดสื่อเองและได้รู้เกี่ยวกับสื่อเพิ่มมากขึ้น