Sunday, August 18, 2019

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 💦


วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                 การเรียนการสอนในวันนี้ เป็นการเรียนชดเชยในวันพุธหน้าซึ่งอาจารย์ติดธุระจึงมาสอนไม่ได้ วันนี้จึงได้เรียนรวมพร้อมกับเพื่อนอีกกลุ่มนึง อาจารย์ได้หมอบหมายให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องที่กลุ่มของตตนเองได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันได้เรื่องของแสง



รูปภาพกิจกรรม

เรื่องของแสง

แหล่งกำเนิดแสง

         - วัตถุที่เป็นต้นต่อของแสง
         - ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก
         - วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงมาก อย่างเช่น กำเนิดแสงธรรมชาติ
         - เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็ก ไฟฟ้าในบางส่วน

ประเภท 

      แสงที่เกิดจากธรรมชาติ     

           - แสงจากดวงอาทิตย์ 
           - ดวงดาว
           - ฟ้าแลบ
           - แสงจากสัตว์

      แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น 

            - แสงจากไฟฉาย
            - หลอดไฟฉาย
            - ตะเกียง
            - เทียนไข
            - การเผาไหม้เชื้อเพลิง

คุณสมบัติของแสง

                 แสงมีคุณสมบัติเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค จะมาเรียนรู้คุณสมบัติของแสงกัน
แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่

         1) เดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation)
         2) การหักเห (Refraction)
         3) การสะท้อน (Reflection)

              มี2ลักษณะ 

                 -การสะท้อนแบบปกติ
                 -การสะท้อนแบบกระจาย

          4) การกระจาย (Dispersion)

ประโยชน์จากแสงทางตรง

            1.การทำนาเกลือ 
            2.การทำอาหารตากแห้ง
            3.การตากผ้า
            4.การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม
            5.  การแสดงหนังตะลุง 

ประโยชน์จากแสงทางอ้อม 

            1.ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ  (การเกิดฝน)
            2.พืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์  

ดูแลรักษา

            - การเก็บรักษาไว้ในหลังคาลาดเอียงที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ
            - ต้องสำรวจระดับความสว่างและการใช้งานอยู่เสมอ


ผลกระทบหรือโทษ 

             - การที่เด็กได้รับแสงที่ไม่เหมาะสมอาจมีผลต่อสายตาและการมองเห็นของเด็กได้ 
             - สัมผัสแดดนานเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไหม้แดด
             - แสงแดดมีอันตรายต่อร่างกายอาจทำให้ตาเป็นต้อกระจก
             - ไฟฉาย ตะเกียง เทียนไข แสงเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้จึงทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้





รูปภาพกิจกรรม

           นอกจากนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้คิดหาของเล่นหรือสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มากลุ่มละ 1 ชิ้น และนักศึกษาแต่ละคนก็ให้หาอีก 1 ชิ้น ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้รับหมอบหมาย





คำศัพท์
1. toy                        ของเล่น
2. light                      แสง
3. to take care of            ดูแลรักษา
4. benefit                    ประโยชน์
5. property                   คุณสมบัติ



บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ได้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับวิทยาสาสตรืสำหรับเด็ก                                            ปฐมวัย ได้เห็นสื่อใหม่ๆที่เกี่ยวกับวิทยาสาสตร์










บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 💦


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                  การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาได้ตอบคำถามว่า วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดนักศึกษาเป็นลักษณะอย่างไร หลังจากเรียนได้เรียนรู้ว่า การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เราต้องรู้เกี่ยวกับการสมองของเด็ก เพื่อเตรียมสมองของเด็กให้มีความพร้อมในการรับความรู้ในระดับที่สูงขึ้น การสร้างประสบการณ์วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ของเด็ก วิธีการสอนต่างๆ เพลงเป็นสื่อให้เด็กในการทำกิจกรรมเพื่อนส่งเสริมการทำงานของสมองทั้งสองซีก ให้เด็กได้แสดงออกพฤติกรรมในการทำงานของสมองทั้งสองซีก การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเรียนรู้โดยผ่านการเล่น การเรียนรู้โดยการเป็นลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยากและต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 
                 การปรับโครงสร้างของสมองจนเกิดความรู้ใหม่ ลำดับขั้นตอนของเด็กในการทำงานของสมอง นิยามของพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของพฤติกรรมเปลี่ยนตามลำดับตามขั้นอายุตามลำดับช่วงวัย การเรียนรู้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือการเล่น
                 การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้แนะนำการใช้เพลงเป็นสื่อในการเรียนการสอนของเด็กที่สามารถส่งเสริมการทำงานของระบบสมองทั้งสองซีก การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาใช้เป็นเครื่องมือซึ่งมีความสอดคล้องกับพัฒนาการหรือความสามารถของเด็ก การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กรับรู้แล้วมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆ แสดงว่าเด็กได้เกิดการเรียนรู้แล้ว


              ซึมซับ    รับรู้    ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่    เกิดการเรียนรู้    เพื่อความอยู่รอด




คำศัพท์
1. Comment                    แสดงความคิดเห็น
2. Structure                  โครงสร้าง
3. the device                 เครื่องมือ
4. Brain system               ระบบสมอง
5. behavior                   พฤติกรรม




บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย พื้้นที่ในการเรียนวันนี้มีเนื้อที่ในการทำงานเยอะ                                              สะดวกสบาย เนื้อหาที่อาจารย์สอนเข้าใจง่าย









บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 💦


วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ความรู้ที่ได้รับ
                การเรียนการสอนในวันนี้ ยังไม่ลงถึงเนื้อหาแต่อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดของวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่ามีเนื้อหาอย่างไร และในปีการศึกษานี้นักศึกษาต้องเรียนอะไรบ้าง นอกเหนือจากนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของบล็อกว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างบล็อกอย่างถูกวิธี และครบองค์ประกอบตามที่อาจารย์กำหนด 




บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย พื้้นที่เพียงพอในกานเรียนการสอน ไม่อึดอัดหรือ                                            เบียดกัน อาจานย์อธิบายเข้าใจในเนื้อหา







สรุปตัวอย่างการสอน💦

                 




             ปัญหาของเยอรมนีคือการขาดแคลนวิศวกร ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาระยะยาวอีกส่วนหนึ่งจากการขาดความสนใจ เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเด็กๆในปัจจุบัน ซีเมนส์จัดการปัญหานี้โดยมุ่งไปที่เด็กๆ และองค์กรผู้จัดการฝึกอบรมสำหรับครูชั้นอนุบาลและสนับสนุนอุปกรณ์ เรียกว่า “กล่องแห่งการค้นหา” ซึ่งบรรจุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แบบง่ายไว้ เขาหวังว่าการสร้างความสนใจในเรื่องต่างๆ เช่น น้ำ สี เสียง ไฟฟ้า และอากาศ ทำให้เด็กๆอาจจะเห็นว่าวิศวกรเป็นอาชีพที่น่าสนใจในอนาคต





สรุปวิจัย 💦


เรื่อง : ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

          สรุป : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่นำมาใช้เป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การทดลองที่เปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนที่ให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูควยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีที่ให้เด็กสามารถปฏิบััติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการทดลองเรื่องสีจากธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมสังเกต การจำแนกประเภท การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็นข้อมูล เด็กได้ใช้ความคิดและสัมผัสสื่อที่หลากหลาย โดยการปฏิบัติจริงตามความคิดของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวิก็อทสกี้ ว่าเด็กจะเรียนรู้ต้องให้เป็นผู้ลงมือทำและมีส่วนในการเรียนรู้








สรุปบทความ 💦

บทความการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)
              การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

                การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัย